นายพิชิต จันทรเสรีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน) หรือ KCAR เปิดเผย “การเงินธนาคาร” ว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถเช่ามีมูลค่าตลาด 50,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมอุตสาหกรรมรถเช่าในปี 2566 ประเมินว่าจะหดตัวลงเล็กน้อย 2-3% จากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจประหยัดงบประมาณในการเช่ารถลงในกลุ่ม Operating Lease แต่ในกลุ่มเช่าระยะสั้น ได้ปัจจัยกระตุ้นจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว ทำให้ขยายตัวดีขึ้นจากปี 2565 แต่ยังไม่เทียบเท่าช่องก่อนเกิดโควิด เมื่อปี 2562
สำหรับ KCAR จัดอยู่ในหมวด Operating Lease หรือ เช่าระยะยาวสำหรับกลุ่มองค์กร ซึ่งขณะนี้มีการแข่งขันสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจซึมลึก ส่งผลให้ผู้เล่นรายอื่น ๆ ต่างมุ่งเข้าหากลุ่มบริษัทใหญ่มากขึ้น
โดยที่ผ่านมาฐานลูกค้าของบริษัทฯ มีมากถึง 1,200 บริษัท แบ่งเป็น หน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสากิจ 15% และองค์กรเอกชนรายใหญ่ 85%
ทำให้กลยุทธ์ในปี 2566 นอกจากจะขยายฐานในลูกค้ากลุ่มองค์กรใหญ่อย่างต่อเนื่อง ยังมองไปถึงกลุ่ม SME ธุรกิจรายกลาง-รายเล็กมากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ทาร์เก็ตนี้เริ่มหันมาสนใจโมเดลการเช่าแบบ Operating Lease ต่อเนื่อง
และเห็นข้อดีของการเช่าที่มากกว่าการซื้อ ตั้งแต่ครอบคลุมการดูแลครบวงจร ทั้งทำประกันภัย ซ่อมบำรุง ตลอดจนการจัดเตรียมรถทดแทน รองรับหากเกิดการซ่อมหรืออุบัติเหตุ รวมถึงค่าเช่าหักเป็นค่าใช้จ่ายได้มากกว่าค่าเสื่อมรถยนต์ ทำให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายฐานลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม ให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 100 บริษัท จากฐานลูกค้าเดิมที่มี 1,200 บริษัทฯ
กลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้า คือ การทำการตลาดเชิงรุกเข้าหาลูกค้า SME เพื่อสร้างความเข้าใจโมเดลความคุ้มค่าของรถเช่า รวมถึงรักษาฐานลูกค้าเก่า โดยจัดทำ CRM สร้างรอยัลตี้ เช่น คอร์สอบรมการขับรถให้แก่พนักงานขับรถของบริษัทลูกค้า การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษารถในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังยกระดับการบริการให้มีความรวดเร็ว ผ่านการเปิดทำการทุกวันตลอดสัปดาห์ การมีศูนย์บริการครอบคลุม 1,000 จุดทั่วประเทศ และมีพอร์ตฯ รถยนต์กว่า 9,000 คัน ครอบคลุมหลายยี่ห้อ และหลายรุ่น
ทำให้ที่ผ่านมา KCAR สามารถสร้างการเติบโตด้านผลประกอบการได้ต่อเนื่อง แม้อุตสาหกรรมรถเช่าซบเซาจากโควิด ซึ่งงวดครึ่งแรกของปี 2566 ทำรายได้ 1,153 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3% แบ่งออกเป็นรายได้จากค่าเช่ารถ 59% และรายได้จากการขายรถใช้แล้ว 39% ส่วนกำไรสุทธิทำได้ 132.06 ล้านบาท ขยายตัว 32.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (yoy)
นายพิชิต กล่าวต่อว่า KCAR เน้นการเติบโตแบบ Optimum คำนึงถึงจุดสมบูรณ์ที่สุด เน้นการเติบโตอย่างมั่นคง เปรียบเทียบกับคู่แข่ง 10 เจ้าแรกในตลาด จะพบว่า
นอกจาก การทำพอร์ตเช่ารถระยะยาวแล้ว อีกความท้าทายหนึ่งของธุรกิจ คือ เมื่อครบสัญญาต้องขายรถเช่าที่ครบสัญญาออกไป ปีละเฉลี่ย 1,000 คัน ซึ่งปกติรถเช่าจะขายได้ราคาต่ำกว่าตลาด เนื่องจาก บางธุรกิจที่เช่ารถไปจะใช้งานรถค่อนข้างหนัก ทำให้มีความเสื่อมเร็ว เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ สร้างผลประกอบการเหนือตลาดได้ โดยดูตั้งแต่การบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่ประเมินความเสี่ยงของฟลีท โดยคัดเลือกยี่ห้อรถที่เป็นแบรนด์ตลาด สีที่นิยม มีสภาพคล่องสูงขายง่าย และการบริหารกระแสเงินสด คุม D/E ให้ต่ำ เติบโตอย่างเหมาะสม มีเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อรัดกุม เพื่อให้ NPL ต่ำ ตลอดจนปรับราคารถมือสองทุกครึ่งปี โดยวาง 4 กลยุทธ์ ดังนี้
“ปีนี้ตลาดธุรกิจเช่ารถยังคงซบเซา แต่ถ้าไม่มีแฟคเตอร์อะไรเพิ่มเติม คาดว่าตลาดน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่บริษัทฯ จะยิ่งรุกเข้าผู้บริโภคมากขึ้น จากเคยทำเป็นแคตตาลอตรถให้เช่า เราอยู่ระหว่างการทำแพลตฟอร์มเว็บไซต์เช่ารถ-ซื้อรถมือสองของของบริษัทฯ แบบครบวงจร ทั้งข้อมูลรถ การคำนวณสินเชื่อของผู้บริโภค ถือเป็นการขยายช่องทางในการเข้าหากลุ่มลูกค้า โดยตั้งเป้าว่าปี 2567 รายได้บริษัทจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10%”