นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น

 

ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2

 

นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

 

    บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แคนด์ ลีส จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสเป็นธรรม รับผิดชอบและระมัดระวังภายใต้กฎหมายระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยในปี 2558 บริษัทจึงได้เข้าร่วมใน "แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน" เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ รวมถึงการได้เข้ารับการรับรองสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

    เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันคอร์รัปชันกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท และเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันบริษัทจึงได้แสดงเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้จัดทำ "นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน" เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนช

นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

    "ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ยอมรับการทุจริตทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมได้แก่การรับสิ่งของ ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง เงินเรี่ยไร เงินบริจาคและผลประโยชน์อื่นใดให้แก่ตนเองจากบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัท" ให้ครอบคลุมถึงพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติงานตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  1. คำนิยาม

ทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้ สัญญา มอบให้ ให้คำมั่น เรียกร้อง หรือรับซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้

การให้สินบน หมายถึง การเสนอให้หรือรับสิ่งของ ของขวัญ รางวัล หรือผลประโยชน์อื่นใดให้แก่ ตนเอง หรือจากบุคคลซึ่งต้องการให้โน้มน้าวให้กระทำการบางอย่างที่ไม่สุจริต ผิดกฎหมายหรือผิดจรรยาบรรณของบริษัท

การสนับสนุน หมายถึง เงิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้ หรือรับจากลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ หรือชื่อเสียงของบริษัท

การสนับสนุนทางการเมือง หมายถึง การให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงินแก่นักการเมือง พรรคการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น การให้เงิน บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เป็นต้น

การบริจาคเพื่อการกุศล หมายถึง การให้เงิน สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดที่มีมูลค่า ให้กับหน่วยงาน องค์กรการกุศล เพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทน

ค่าอำนวยความสะดวก หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการตามกระบวนการ หรือเพื่อกระตุ้นการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น รวมถึงการจ่ายเพื่อให้ได้สิทธิพิเศษจากบริการที่เหนือกว่าผู้อื่น

การให้ หรือรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด หมายถึง การให้หรือรับสิทธิพิเศษในรูปของเงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ ของขวัญ การเลี้ยงรับรองต้อนรับ หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นสินน้ำใจ เป็นรางวัล หรือเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ตามวาระโอกาสต่างๆ

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หมายถึง สถานการณ์หรือการกระทำที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานเกิดความต้องการในผลประโยชน์เพื่อส่วนตน และผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเกี่ยวข้องโดยทางใด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจที่เที่ยงธรรม การปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ และการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของบริษัท

  1. หน้าที่ความรับผิดชอบ
    • คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชัน และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
    • คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชีระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
    • คณะกรรมการกำกับดูแล มีหน้าที่กำหนดขอบเขต และนโยบายการกำกับดูแล เสนอแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการ ทบทวน และพิจารณาปรับปรุงตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
    • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธุรกิจเพื่อการดำเนินงาน กำหนดการใช้ทรัพยากรในการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบาย โดยวิเคราะห์ ประเมิน วัดผล และติดตามกระบวนการบริหารคามเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล รวมถึงทบทวน และเสนอข้อแนะนำต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับ
    • กรรมการผู้จัดการ คณะจัดการ และผู้บริหารมีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งทบทวนให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปได้แก่สภาพธุรกิจระเบียบข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมายต่างๆเป็นต้น
    • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบายแนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้และในกรณีที่พบเห็นการกระทำอันเป็นที่ฝ่าฝืนนโยบายฉบับนี้จะต้องรีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้ตามนโยบายฉบับนี้

คำอธิบาย

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.       Board แสดงความมุ่งมั่นในต่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน โดยมอบให้ ประธานกรรมการฯ ลงนามประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

2.       Board แต่งตั้ง (1) คณะกรรมการตรวจสอบฯ สอบทานแบบ ประเมินตนเอง 71 ข้อ (2) คณะกรรมการธรรมาภิบาล ทบทวนCOC, (3) คณะกรรมการความเสี่ยงประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชัน

3.     คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาสอบทานแบบประเมินตนเอง 71 ข้อ และเสนอ Board พิจารณาอนุมัติ เพื่อขอรับรองต่อคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

4.       ผู้บริหารระดับสูง : สื่อสารให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนในองค์กรรับทราบนโยบายและแนวปฏิบัติในการแสดงความมุ่งมั่น และวิธีการวัดผล เพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงาน

5.     ฝ่ายบริหารกำหนดให้มีการตรวจติดตาม และประเมินผลต่อมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกปี

 

 

  1. นโยบายและแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • 3.1 บททั่วไป

แนวทางการปฏิบัติ

  • กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันและจรรยาบรรณ โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชัน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  • พนักงาน ไม่พึ่งละเลย หรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัย หรือข้อรักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ผ่านช่องทางต่างๆที่กำหนดไว้
  • ต้องไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางตรงและแอบแฝง ทั้งส่วนตน ครอบครัว และพวกพ้องกับบริษัท เช่นกระทำการใดๆ เพื่อขายสินค้าและบริการให้กับบริษัท หรือแข่งขันกับบริษัท
  • บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน
  • บริษัทจัดให้มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะงานขาย การตลาด จัดซื้อ
  • ผู้ที่กระทำคอร์รัปชันเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัทซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย
  • บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับทางบริษัทหรีออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัทในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
  • บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน
  • 3.2 การช่วยเหลือทางการเมือง

บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมและฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งหรือผู้มีอำนาจทางการเมืองคนหนึ่งคนใด ไม่นำเงินทุนหรือทรัพยากรของบริษัทไปใช้ สนับสนุน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแก่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด ๆ

  • 3.3 การบริจาคเพื่อการกุศล

อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีผลตอบแทนที่มีตัวตน และอาจจะใช้เป็นข้ออ้างหรือเส้นทางสำหรับการคอร์รัปชัน และเพื่อไม่ให้การบริจาคเพื่อการกุศลมีวัตถุประสงค์แอบแฝง บริษัท จึงกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศลกระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ดังต่อไปนี้

  • การบริจาคนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง หรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
  • การบริจาคนั้น ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นไปเพื่อการกุศลดังกล่าวไม่มีสวนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือหน่วยงานใด ยกเว้น การประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป เช่น การติดตราสัญลักษณ์ (Logo) การประกาศรายชื่อบริษัท ณ สถานที่จัดงาน หรือในสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  • 3.4 เงินสนับสนุน(Sponsorships)

เป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจของบริษัททางหนึ่งซึ่งแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศลโดยอาจกระทำได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้าหรือชื่อเสียงของบริษัท ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสำหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและติดตาม เงินสนับสนุนยังอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวกับการติดสินบน บริษัทจึงกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินสนับสนุนกระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ดังต่อไปนี้

  • เงินสนับสนุนนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ขอเงินสนับสนุนได้ทำกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวจริงและเป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริงหรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
  • เงินสนับสนุนนั้น ต้องพิสูจน์ได้ว่าการให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้เช่น การให้ที่พักและอาหาร เป็นต้น ไม่มีสวนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือหน่วยงานใดยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมธุรกิจทั่วไป
  • ในการเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน จะต้องทำ จัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับเงินสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท
  • 3.5 การจ่ายและรับเงินที่เกี่ยวกับค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

บริษัทตระหนักดีว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ ดีกับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของบริษัทพนักงานสามารถให้หรือรับของขวัญ(Gits) และ/หรือคำบริการต้อนรับ(Hospitality) และ/หรือในรูปค่าใช้จ่ายอื่น (Others) แก่/จากบุคคลใดๆ ได้ หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ตังต่อไปนี้

  • ไม่เป็นการกระทำโดยตั้งใจเพื่อครอบงำชักนำ หรือตอบแทนบุคคลใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบใดๆ ผ่านการระทำไม่เหมาะสม หรือเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจนหรือแอบแฝงเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน์
  • เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นการให้ในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามของพนักงาน
  • ไม่เป็นของขวัญที่อยู่ในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด (เช่น บัตรของขวัญ หรือบัตรกำนัล)
  • เหมาะสมกับสถานการณ์เช่น การให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตรุษจีนหรือปีใหม่ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปกติ
  • ประเภทและมูลคำมีความเหมาะสมและมอบให้ถูกต้องตามวาระโอกาส เช่น ในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างจัดให้มีการประกวดราคา พนักงานจะต้องไม่รับของขวัญ หรือค่าบริการต้อนรับจากบริษัทที่เข้าร่วมการประกวดราคานั้น
  • เป็นการให้อย่างเปิดเผยไม่ปกปิดโดยพนักงานสามารถรับของขวัญ ซึ่งมีมูลค่าได้ไม่เกิน 500 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธและจะต้องรับของขวัญซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 500 บาท ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยใช้แบบรายงานการรับของขวัญและนำส่งของขวัญดังกล่าวแก่เลขานุการผู้บริหาร เพื่อนำไปเป็นของรางวัลให้แก่พนักงาน หรือบริจาคเพื่อการกุศลตามความเหมาะสม
  • เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องความเสี่ยงกับการทุจริตคอร์รัปชัน กรรมการผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกระดับต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้

8.1 การรับสิ่งของ/การให้สิ่งของ หรือผลประโยซน์อื่นใด : กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้

8.1.1 การรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด

  • ห้ามมิให้ผู้บริหาร และพนักงาน: รับ ขอรับเรี่ยไรของขวัญการเลี้ยงรับรอง การให้บริการ การสนับสนุนทางการเงิน เงินรางวัลใดๆ จากคู่ค้า เจ้าหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียที่ทำธุรกิจกับบริษัท
  • การขอสนับสนุนในรูปเงินหรือสิ่งของ สามารถกระทำได้ในลักษณะองค์กรกับองค์กรโดยต้องได้รับการลงนามอนุมัติจาก กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม เท่านั้น
  • เว้นแต่ในโอกาสหรือเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่พึงปฏิบัติต่อกัน โดยสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดนั้นต้องมีราคาหรือมูลค่าการรับไม่เกิน 500 บาท และ/หรือมีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล หรือระหว่างองค์กร
  • กำหนดให้ผู้บริหารตั้งแต่ผู้จัดการแผนกขึ้นไป เป็นผู้แทนองค์กรในการรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดและนำส่งต่อเลขานุการบริหารภายใน 1 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินการตามเกณฑ์ภายในบริษัทต่อไป
  • ยกเว้น ของชำร่วยในช่วงเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยม บริษัทอนุโลมให้พนักงานสามารถรับได้ เช่น ปฏิทิน พวงกุญแจ สมุดบันทึกฯลฯ ที่มีตราสัญลักษณ์ขององค์กรนั้นระบุไว้โดยมอบหมายให้ผู้บริหารตั้งแต่ผู้จัดการแผนกขึ้นไปเป็นผู้แทนในการรับมอบ และมีอำนาจในการพิจารณาแจกจ่ายของชำร่วยนั้นให้แก่พนักงาน
  • เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทไม่อนุญาตให้พนักงานหรือบุคคลที่บริษัทมิได้มอบหมายให้เป็นผู้แทนในการรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดโดยเด็ดขาด
  • กรณีที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และมีความจำเป็นต้องรับไว้ ให้รับของดังกล่าวและรายงานต่อเลขานุการบริหารเพื่อดำเนินการต่อสิ่งของนั้นๆตามความเหมาะสม

8.1.2 การให้สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด:

  • การให้สิ่งของ กำหนดให้ในโอกาสเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่คนทั่วไปพึงปฏิบัติต่อกัน หรือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมที่ไม่สร้างความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือประเพณีที่ไม่มีข้อขัดแย้งต่อกฎหมาย ให้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนดำเนินการโดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาซึ่งกำหนดราคาหรือมีมูลค่าไม่เกิน 5,000 บาท
  • เพื่อหลีกเลี่ยงการนำไปสู่การให้สินบน บริษัทกำหนดให้มีการสำรวจและตรวจสอบความเหมาะสมก่อนดำเนินการเพื่อป้องกันการนำไปสู่การทุจริต และกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้แทนองค์กรในการมอบสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด

3.6  การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก

บริษัทไม่มีนโยบายจ่ายค่าอำนวยความสะดวก และไม่ยอมรับการกระทำใดเพื่อแลกกับความสะดวก หรือสร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจอย่างไม่เป็นธรรม โดยปฏิบัติดังนี้

  • ห้ามจ่ายเงินเพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวก ทั้งการให้ทางตรง หรือทางอ้อม หรือการจ่ายตามประเพณีนิยม หรือจ่ายผ่านบุคคลอื่น โดยเฉพาะการจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • บริษัทจะหลีกเลี่ยง หรือปิดโอกาสที่จะทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ ที่อาจจะทำให้เกิดการจ่ายค่าอำนวยความสะดวก
  • มีการตรวจสอบรายการจ่ายค่าอำนวยความสะดวก
  • กำหนดให้มีการแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ เมื่อถูกเรียกร้องค่าอำนวยความสะดวกเพื่อร่วมกันหาทางออก

3.7 การจ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงได้จัดให้มีแนวทางในการตรวจสอบการจ้างงาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแต่งตั้งหรือว่าจ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน

 3.8 การจัดซื้อจัดจ้าง

การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท และเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งกฎหมายที่ห้ามมีความพยายามในการใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ รวมถึงกฎระเบียบและข้อบังคับซึ่งออกโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)

 3.9 การประเมินความเสี่ยง

  • ผู้บริหารของบริษัทต้องมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดสินบนและการคอร์รัปชัน และจะต้องสื่อสารไปยังพนักงานในระดับต่างๆ ให้เข้าใจและร่วมมือกัน เพื่อจัดการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • บริษัทจะจัดทำการประเมินความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมต่างๆ ของบริษัท ที่อาจมีขั้นตอนหรือกระบวนการที่เข้าข่ายการติดสินบนและการคอร์รัปชัน โดยทำการทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวมของบริษัท เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งทบทวนมาตรการการจัดการความเสี่ยงที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมที่จะป้องกันความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้

 3.10 การควบคุมตรวจสอบภายใน

  • บริษัทกำหนดให้มีระบบการควบคุมภายในเพื่อจัดการการคอร์รัปชัน โดยครอบคลุมทั้งด้านการเงินและการดำเนินการของกระบวนการทางบัญชีและการเก็บบันทึกข้อมูล รวมถึงกระบวนการอื่นๆ ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน
  • ระบบการควบคุมภายในเป็นกระบวนการเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันตามที่บริษัทกำหนด

 3.11 การตรวจสอบทางบัญชี และการจัดเก็บรักษาข้อมูล

  • บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี และมีการอนุมัติอย่างเหมาะสมก่อนบันทึกรายการเข้าระบบบัญชี โดยจะตรวจสอบตามนโยบายต่างๆ ของบริษัท กฎระเบียบต่างๆ ของทางการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สัญญา หรือข้อตกลง และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและนโยบายการบัญชีอย่างเหมาะสม
  • คำใช้จ่ายดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายลงทุน ต้องมีหลักฐานประกอบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และต้องได้รับการอนุมัติตามระดับวงเงินโดยผู้มีอำนาจอนุมัติที่กำหนดไว้ในนโยบายค่าใช้จ่ายดำเนินงานหรือค่าใช้จ่ายลงทุนนั้น
  • รายงานทางการเงินจะต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เป็นจริง และเชื่อถือได้ และต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสำคัญอย่างถูกต้องครบถ้วนเช่นกัน รวมถึงข้อมูลรายการระหว่างกัน และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น
  • บริษัทมีการควบคุมการจัดเก็บเอกสารทางบัญชีอย่างเพียงพอ และปลอดภัย เพื่อใช้ในการตรวจสอบได้ทันที มีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลทางบัญชี และมีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสำรองอย่างปลอดภัย

 3.12 ทรัพยากรบุคคล

บริษัทจะนำนโยบายฉบับนี้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการบริหารงานบุคลากของบริษัท ซึ่งรวมถึงการสรรหาการฝึกอบรม การประเมินผลงาน การให้ค่าตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น

 3.13 การฝึกอบรมและการสื่อสาร

  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะได้รับการอบรมหรือรับทราบเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้โดยเฉพาะรูปแบบต่างๆของการคอร์รัปชัน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชัน ตลอดจนวิธีการรายงาน กรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการคอร์รัปชัน
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะได้รับสำเนานโยบายฉบับนี้หรือหาได้จากใน Share Drive ของบริษัท เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าทุกท่านได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายของบริษัทในการต่อต้านการคอร์รัปชัน นอกจากนี้ยังสามารถหาอ่านนโยบายรวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จากเวปไซต์ของบริษัท
    • การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศหรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใหม่ทุกคนของบริษัท
  • ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้บริการ และผู้รับเหมา

บริษัทจะสื่อสารโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันให้แก่ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการ และผู้รับเหมาทราบ ตั้งแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และในภายหลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้บริษัทสนับสนุนให้ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/บริการ และผู้รับเหมายึดมั่นในมาตรฐานการรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับบริษัท

 3.14 การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

  • หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีหลักฐานว่ามีกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามบริษัทคนใดได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชัน จะต้องรายงานหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่อบริษัทได้ดังนี้
  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานสามารถยื่นข้อร้องเรียนได้โดยตรงด้วยตนเอง ด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทาง ดังนี้
    • ผ่านทางโทรศัพท์ 02-291-8888 ต่อ 262 (คุณสุพิชฌาย์ ขจรชัยกุล)
    • ผ่านทาง E-mail: [email protected]
    • ผ่านทาง website ของบริษัท krungthai.co.th
    • ผ่านจดหมายโดยระบุชื่อ และส่งมายัง "ผู้รับแจ้งข้อร้องเรียน" ตามที่อยู่ต่อไปนี้

คุณสุพิชฌาย์ ขจรชัยกุล / หัวหน้าตรวจสอบภายใน

บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์แอนด์ลีส จำกัด (มหาชน)

455/1 ถ.พระราม 3 แขวงบางโคล่

เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120

  • บริษัทจะเก็บข้อมูลผู้แจ้งไว้เป็นความลับ โดยบริษัทจะใช้ข้อมูลการแจ้งนี้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและกำกับการปฏิบัติงานภายใน หรือเปิดเผยตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามคำสั่งศาล และเหรือ ตามคำสั่งของสำนักงาน ก.ล.ต. หน่วยงานราชการ และ/หรือหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจะได้รับการตอบสนองอย่างจริงจัง และได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่อการใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางไม่ชอบหรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เพื่อตอบโต้การกระทำของผู้แจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
  • ผู้แจ้งจะต้องกระทำการโดยสุจริต หากบริษัทพบการแจ้งเบาะแสโดยทุจริต หรือมีเจตนาในการกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือให้ได้รับความอับอาย ฯลฯ นั้น บริษัทจะดำเนินการตามที่เห็นควรต่อไป

 3.15 การปกป้องดูแลกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

  • บริษัทให้ความมั่นใจกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานว่าจะไม่มีผู้ใดต้องถูกลดตำแหน่งลงโทษหรือได้รับผลกระทบใดๆ จากการปฏิเสธการติดสินบน ถึงแม้ว่าการปฏิเสธดังกล่าวจะทำให้บริษัท สูญเสียธุรกิจ หรือพลาดโอกาสในการได้ธุรกิจใหม่ บริษัทเชื่อว่านโยบายไม่ยอมรับการติดสินบนและการคอร์รัปชันอย่างสิ้นเชิงจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทได้ในระยะยาว นอกจากนี้บริษัทไม่ยินยอมให้ผู้ใดมากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวกรรมการผู้บริหาร และพนักงานที่ตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้
  • หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเชื่อว่าตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา หรือแผนกบุคคลโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้รายงานผ่านช่องทางการรายงานตามนโยบายฉบับนี้

 3.16 การดำเนินการสืบสวนและบทลงโทษ

  • เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสกรรมการบริหารและคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้กลั่นกรองสืบสวนข้อเท็จจริง
  • ระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริงกรรมการบริหารและคณะกรรมการตรวจสอบอาจจะมอบหมายให้ตัวแทน (ผู้บริหาร แจ้งผลความคืบหน้าเป็นระยะให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ทราบ
  • หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่าข้อมูลหรือหลักฐานที่มีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการคอร์รัปชันหรือทุจริตจริงบริษัทจะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเองโดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริตตามที่ได้ถูกกล่าวหา
  • หากผู้ถูกร้องเรียนได้กระทำการทุจริตจริงการทุจริตนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยจนถึงขั้นให้ออกจากงาน และ/หรือพ้นจากตำแหน่ง และหากการกระทำทุจริตนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายทั้งนี้โทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทคำตัดสินของคณะกรรมการ (ผู้บริหาร) ถือเป็นอันสิ้นสุด

 3.17 การกำกับติดตามและสอบทาน

  • บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (อย่างน้อยปีละครั้ง) โดยพิจารณาถึงสถานการณ์และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบผลการประเมินความเสี่ยง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ควรมีเพื่อลดความเสี่ยง
  • ฝ่ายตรวจสอบจะตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและกระบวนการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และรายงานประเด็นที่ตรวจพบอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผลในการต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งนี้จะหารือผลการตรวจสอบร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และจะรายงานให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบต่อไป

 ------------------------------------------------------

 จดหมายขอความร่วมมือปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น

 แจ้งเบาะแส การทุจริตคอรัปชั่น