กำกับดูแลกิจการที่ดี

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี 

บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์กรโดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจตามหลักการความรับผิดชอบต่อสังคม โดยครอบคลุมความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกด้าน  และสอดคล้องกับวิถีแห่งการสร้างความสมดุลระหว่างธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งความมั่นคงและยั่งยืน

โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีคู่มือ “การกำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณทางธุรกิจเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานแห่งธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร และกำหนดให้มีการทบทวน ติดตามผลการปฏิบัติงานตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการ และ จรรยาบรรณธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

          บริษัทได้มีนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงพนักงานของบริษัทฯ ทุกคน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อช่วยในการส่งเสริม และสนับสนุนให้บริษัทฯ เป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน และสนับสนุนให้มีการตรวจสอบที่เพียงพอเหมาะสม เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 

 

  1. ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  2. จัดโครงสร้างคณะกรรมการแบ่งตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยนอกจากคณะกรรมการบริษัทแล้วอาจมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคณะอื่นได้ นอกจากนี้ ให้มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคณะอย่างชัดเจน
  3. ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนและเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม
  4. ดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเสี่ยง ให้มีการประเมิน วางกลยุทธ์แก้ไข และติดตามบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  5. สร้างสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องชอบธรรมให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน

 

          บริษัทได้จัดทำนโยบายในการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้

  1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
  2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  3. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
  4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
  5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

                                                         

หมวดที่ 1 :  สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทได้จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท ให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยทั่วกันโดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นผู้ถือหุ้นอยู่จำนวนเท่าใด ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคล นิติบุคคล รวมถึงผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน ทั้งที่เป็นสัญชาติไทย และต่างประเทศ โดยทุกครั้งที่มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดอย่างเคร่งครัด

          (ก) บริษัทมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น โดยการจัดส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารประกอบให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างเพียงพอและทันเวลา (อย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม) ซึ่งในหนังสือนัดประชุมดังกล่าวจะแจ้งรายละเอียด อันประกอบด้วย วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุม ตลอดจนข้อมูลที่สำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ รวมไปถึงการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทเป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะจัดส่งเอกสารไปยังผู้ถือหุ้น

          (ข) ประธานในที่ประชุมจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ เหมาะสม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม โดยในระหว่างการประชุม ประธานได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็นและซักถามต่อที่ประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างเต็มที่

            (ค) ประธานกรรมการ รวมทั้งกรรมการทุกคน จะเข้าร่วมประชุมและตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น ยกเว้นกรณีเหตุสุดวิสัยจนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

หมวดที่ 2 :  การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทได้คำนึงถึงสิทธิขอผู้ถือหุ้นถึงแม้ว่าผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะถือหุ้นไม่เท่ากัน มีสิทธิในการออกเสียงไม่เท่ากัน แต่บริษัทจะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้

          (ก) ผู้ถือหุ้นทุกคนจะได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัท ผ่านช่องทางเว็บไซต์ รวมถึงสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล รวมถึงข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่านทางอีเมล์ (Email) และทางโทรศัพท์

          (ข) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุม และลงมติในที่ประชุมแทนผู้ถือหุ้น ผู้รับมอบฉันทะที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีหนังสือรับมอบฉันทะที่ถูกต้องมีสิทธิที่จะเข้าประชุม และลงมติเช่นเดียวกันกับผู้ถือหุ้นทุกประการ

(ค) บริษัทกำหนดให้กรรมการบริษัทอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนเข้าร่วมประชุม โดยจะแจ้งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี (ภายนอก) และที่ปรึกษาต่างๆ เข้าร่วมประชุมด้วย และจะกำหนดสถานที่และเวลาที่ประชุมให้เหมาะสมและสะดวกในการที่ผู้ถือหุ้นจะเข้าร่วมประชุม

หมวดที่ 3 :  บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทจะดูแลให้มีความเท่าเทียมกันในสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้บริหาร   ผู้ถือหุ้น คู่ค้า เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คู่แข่ง หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สภาพแวดล้อม ชุมชนต่างๆ เนื่องจากความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้จะสร้างความมั่นคง สร้างงาน และสร้างกิจการให้บริษัทมีฐานะการเงินที่มั่นคง ดังนั้นนอกจากคณะกรรมการจะมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว คณะกรรมการยังต้องตระหนักถึงการดูแลให้ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ดี โดยปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดและดูแลให้ความมั่นใจว่าสิทธิดังกล่าวได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดีอย่างเท่าเทียมกัน

 

        ผู้ถือหุ้น

        บริษัทมุ่งเน้นให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยดำเนินการให้มีผลประกอบการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น

 

ลูกค้า

        บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้า จึงมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยการนำเสนอบริการที่มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนในเงื่อนไขต่าง ๆ ของการให้บริการของบริษัทฯ เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้าใจ และเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของบริษัท และยังรวมถึงการรับฟังข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนา และปรับปรุงการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า

       

        พนักงาน

        บริษัทคัดเลือกบุคลากรที่มาเข้าร่วมในการทำงานโดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงมุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมพนักงานให้มีโอกาสในความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพ ตลอดจนปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยจัดให้มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

 

        เจ้าหนี้และคู่ค้า

บริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจกับเจ้าหนี้และคู่ค้าทุกประเภทอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม โดยปฏิบัติตามธรรมเนียมการค้า รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกันรวมถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

 

คู่แข่งทางการค้า

บริษัทปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าอย่างเป็นธรรม และไม่ดำเนินธุรกิจที่นำมาซึ่งการผิดจริยธรรม หรือผิดจรรยาบรรณทางการค้าต่อคู่แข่ง โดยบริษัทฯ จะยึดหลักปฏิบัติตามธรรมเนียมการค้า รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกัน รวมถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

 

ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

บริษัทจะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความร่วมมือ ดูแล และให้ความใส่ใจต่อชุมชม สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม รวมทั้งมุ่งปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถ Download ข้อมูลได้ที่ www.krungthai.co.th ในส่วนของรายงานประจำปี 2559 และรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปี2559

หมวดที่ 4 :  การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

   บริษัทฯ มุ่งเน้นให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทันเวลา รวมทั้งสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของบริษัท ทั้งในรูปของข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันตามที่กฎหมาย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความโปร่งใสและทั่วถึง ทั้งในส่วนการดำเนินงานของบริษัทฯตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางระบบ Set Community Portal หรือระบบ SCP ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน อีกทั้งบริษัทฯยังได้เผยแพร่ข้อมูลธุรกิจของบริษัทฯผ่านทางเว็บไซด์ www.krungthai.co.th เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาดูข้อมูลทั่วไป และหากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อบริษัทฯได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-291-8888

หมวดที่ 5ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

 

   คณะกรรมการของบริษัทฯ มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งต้องมีภาวะผู้นำ และสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

(ก)  องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ

  1. คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 ท่าน แต่ไม่เกิน 12 ท่าน โดยมีกรรมการอิสระ ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการที่มีอยู่
  2. กรรมการแต่ละท่านต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารงานของบริษัทฯ ควรประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ในด้านธุรกิจของรถยนต์ให้เช่าเพื่อการดำเนินงาน  อย่างน้อย 2 ท่าน ความรู้ทางด้านบัญชี และการเงิน  อย่างน้อย 1 ท่าน  และมีความรู้ในด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 ท่าน
  3. กรรมการแต่ละท่านต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน และไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจในการบริหารจัดการในกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามกฎหมายและประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  4. บริษัทฯ ได้มีการเปิดเผยประวัติของกรรมการทุกรายในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) รายงานประจำปี (56-2) รวมถึงการเปิดเผยบนเว็บไซด์ของบริษัท

 

(ข) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท    

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ  ทั้งหมด 8 ข้อ ดังนี้

  1. คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  2. คณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดเป้าหมาย แนวทาง นโยบาย แผนงานและงบประมาณของบริษัท ควบคุมกำกับดูแลการบริหารการจัดการของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย เว้นแต่เรื่องดังต่อไปนี้ซึ่งคณะกรรมการต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการดำเนินการ ได้แก่ เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน ลดทุน การออกหุ้นกู้ การซื้อขายหรือโอนกิจการของบริษัท หรือ การรับโอนกิจการหรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่น การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับและการจ่ายบำเหน็จกรรมการ เป็นต้น
  3. คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการจำนวนหนึ่งตามที่เห็นสมควรให้เป็นคณะกรรมการบริหารโดยให้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของบริษัท ตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ และในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริหาร
  4. คณะกรรมการได้กำกับให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพโดยจัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นผู้ติดตามและดำเนินการร่วมและประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบ
  5. กรรมการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินรางวัล เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส หรือ ผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่นๆ ตามข้อบังคับหรือตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดเป็นจำนวนแน่นอน หรือ กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการพิจารณาเป็นคราวๆ ไป หรือ กำหนดให้มีผลตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้น ให้กรรมการมีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่างๆ ตามระเบียบของบริษัท
  6. คณะกรรมการบริษัทจะต้องไม่อนุมัติรายการใดๆ ที่ตนเองหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทและหรือบริษัทย่อย
  7. คณะกรรมการมีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ อาทิ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  8. คณะกรรมการมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและประชาชนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีมาตรฐาน

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะต้องไม่อนุมัติรายการใดๆ  ที่ตนเองหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทและหรือบริษัทย่อย

      นอกจากนี้  คณะกรรมการยังมีขอบเขตหน้าที่  ในการกำกับดูแลให้บริษัท  ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์  อาทิ  การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

(ค) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

         คณะกรรมการตรวจสอบ  แต่งตั้งขึ้นจากคณะกรรมการของบริษัทอย่างน้อย 3 ท่าน โดยอย่างน้อย     1 ใน 3 ท่านต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านของบัญชี และการเงิน โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระตามประกาศคณะกรรมการหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ในการตรวจสอบ และกำกับดูแลในการดำเนินงานของบริษัท ดูแลรายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน การพิจารณาข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตลอดจนการพิจารณาการบริหารความเสี่ยงของบริษัท

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
  3. สอบทานมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทได้ประกาศใช้ และสอบทานให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  4. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
  6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
    • ความเห็นชอบเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
    • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
    • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
    • ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
    • ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    • จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
    • ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
    • รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  1. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการของบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

 

(ง) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร

        มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 8 ข้อ ดังนี้

  1. ให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดำเนินงานที่สำคัญของบริษัท โดยกำหนดขอบเขตประเภท หรือขนาดของภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางและนโยบายของบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลการดำเนินงานโดยรวม ความสัมพันธ์กับลูกค้า ภายในขอบเขตของแผนงานและงบประมาณที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  2. พิจารณาเรื่องการลงทุนขยายงาน รวมถึงการซื้อขายสินทรัพย์ถาวรของบริษัทเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  3. มีอำนาจกระทำการและแสดงตนเป็นตัวแทนของบริษัทต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ
  4. พิจารณาเรื่องการระดมทุนของบริษัทเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  5. อนุมัติการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัทตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
  6. ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานโดยทั่วไปของบริษัท
  7. พิจารณาและอนุมัติแผนการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายงานของบริษัท และพิจารณาอนุมัติคำขอจากฝ่ายงานต่าง ๆ ของบริษัทที่เกินอำนาจสั่งการของฝ่ายงานนั้น
  8. หากการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ใช้งบประมาณสูงเกินกว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติร้อยละ 10 จะต้องนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริหารอาจจะมอบหมาย และกำหนดอำนาจหน้าที่ ให้กรรมการบริหารแต่ละคนสามารถดำเนินการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ตามข้อ 3. ก็ได้ โดยกรรมการบริหารดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายนั้นโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหาร

            ทั้งนี้ การอนุมัติรายการของคณะกรรมการบริหารข้างต้น จะไม่รวมถึงการอนุมัติรายการที่คณะกรรมการบริหารหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใด กับบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย รวมทั้งรายการที่กำหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์

(จ) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

        มีหน้าที่และความรับผิดชอบ  ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้

  1. สรรหาบุคคลที่เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เพื่อเสนอต่อคณะ กรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาในกรณีที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
  2. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
  3. กำหนด และสอบทานนโยบาย และแนวทางในการกำหนดค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมสำหรับกรรมการให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบ และเปรียบเทียบได้กับระดับที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรม และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และเป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด

 

(ฉ) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

        มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 4 ข้อ  ดังนี้

  1. กำหนดขอบเขต และนโยบายการการกำกับดูแลกิจการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  2. เสนอแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการต่อคณะกรรมการบริษัท พร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ
  3. พิจารณาทบทวนแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการ โดยเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติสากล และเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้มีการพิจารณาปรับปรุงตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
  4. รายงานผลการประเมินการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการต่อคณะกรรมการบริษัท

 

(ช) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

        มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้

  1. กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และขอบเขตความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธุรกิจรถยนต์ให้เช่าเพื่อการดำเนินงาน เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในเรื่องการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ทั้งนี้ให้ครอบคลุมความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านตลาด หรือความเสี่ยงอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
  2. กำหนดการใช้ทรัพยากรในการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถวิเคราะห์ ประเมิน วัดผล และติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
  3. ทบทวน และให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง วิธีปฏิบัติ กลยุทธ์ และการวัดความเสี่ยงโดยรวม เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงได้นำมาปฏิบัติอย่างเหมาะสม
  4. รายงาน และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งรายงานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท

 

(ซ) ภาวะผู้นำ

            คณะกรรมการบริษัทวางนโยบาย กลยุทธ์และเป้าหมาย ตลอดจนการจัดทำงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ โดยทำหน้าที่ติดตามผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแผนงานต่างๆ รวมทั้งการกำหนดและแยกบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหาร พนักงานและผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังต้องกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ดูแล ฝ่ายตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงาน และประเมินผลการทำงาน ตลอดจนระบบการควบคุมภายในให้มีความเพียงพอต่อกิจการ และดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับบริษัทอย่างเต็มที่

 

(ฌ) ความขัดแย้งของผลประโยชน์

            แม้ว่าบริษัทจะมีคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร หรือผู้บริหาร ตลอดทั้งผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ บางรายเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย แต่นโยบายในการบริหารงานของบริษัทต้องเน้นถึงประโยชน์ของบริษัทโดยรวมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการตัดสินใจในเรื่องที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือการได้เปรียบเสียเปรียบในผลประโยชน์นั้น บริษัทจะกำหนดให้กรรมการ กรรมการบริหารหรือผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย เพื่อความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และจะเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบโดยทันทีเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน อีกทั้งจะนำข้อมูลที่จำเป็นเปิดเผยไว้ในงบการเงิน รายงานประจำปีและแบบ 56-1 อย่างสม่ำเสมอ สำหรับการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทจะกำหนดให้คณะกรรมการบริหารรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ..2535 และไม่ให้กรรมการบริหารหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือน ก่อนที่งบการเงินเผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

(ญ) จริยธรรมธุรกิจ

            บริษัทจัดทำข้อพึงปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับจรรยาบรรณของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ เพื่อให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเป็นธรรม ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนรับทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งบริษัทเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับข้อพึงปฏิบัติที่ดีเหล่านี้จะสามารถยกมาตรฐานการกำกับดูแลให้สูงขึ้น อีกทั้งส่งเสริมความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนในการจัดการของบริษัท สร้างความยุติธรรมและความน่าเชื่อถือของตลาดทุน

 

 (1) โครงสร้างคณะกรรมการ

บริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และข้อบังคับของ ตลท. เรื่อง จำนวนกรรมการอิสระและกรมการตรวจสอบ ซึ่งกำหนดให้มีกรรมการอิสระให้เป็น 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ และต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน โดยบริษัทได้มีกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 ท่าน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้างต้น

(2) การรวมหรือแยกตำแหน่ง

ประธานกรรมการบริษัทจะไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการ แต่เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันและเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้น ในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่างๆ ต้องกำหนดให้ต้องผ่านการเห็นชอบของกรรมการจากทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มกรรมการตรวจสอบซึ่งถือว่ามีความเป็นอิสระจะต้องมีบทบาทในการให้ความเห็นแก่บริษัทเป็นอย่างมากซึ่งจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการบริหารงานได้เป็นอย่างดี

 

(3)  ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหาร

บริษัทกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ ให้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยจะคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่กรรมการต้องรับผิดชอบ รวมทั้งสามารถที่จะดูแลและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการไว้ได้  ส่วนผู้บริหารจะได้รับผลตอบแทนโดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละบุคคลรวมทั้งผลประกอบการโดยรวมของบริษัทเป็นสำคัญ การกำหนดค่าตอบแทนดังกล่าวจะพิจารณากลั่นกรองผ่านคณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน และได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้บริษัทกำหนดให้มีการเปิดเผยนโยบายค่าตอบแทนและจำนวนค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารในรายงานประจำปีตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด

 

(4) การประชุมคณะกรรมการ

บริษัทจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง โดยจะมีวาระการประชุมพร้อมเอกสารประกอบส่งให้กรรมการทุกคนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาพิจารณาและศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ อีกทั้งมีเลขานุการบริษัททำหน้าที่ดูแลการประชุมของคณะกรรมการบริษัท พร้อมทั้งบันทึกรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการจัดเก็บไว้อย่างถูกต้องครบถ้วนสามารถตรวจสอบได้

ทั้งนี้ในระหว่างปี หากมีวาระที่จะมีการพิจารณาในเรื่องของนโยบาย หรือประเด็นในเชิงธุรกิจ บริษัทฯ จะมีการเรียกประชุมกรรมการในระหว่างกาล ตามความเหมาะสม 

ในการประชุมแต่ละคราวประธานที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระและมีการจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในกรณีที่มีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียใดๆในเรื่องที่พิจารณากรรมการจะแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบและจะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็นและไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้นๆโดยจานวนองค์ประชุมขั้นต่าณขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจานวนกรรมการทั้งหมด

 

(5)  คณะอนุกรรมการ

              คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยการกำกับดูแลกิจการของบริษัทโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งตามระเบียบที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดซึ่งไม่เกินคราวละ 3 ปี กรรมการตรวจสอบต้องประกอบด้วย กรรมการอิสระที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน

(6) ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

              บริษัทจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแลระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบรายการที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความมั่นใจว่าบริษัทมีระบบที่มีประสิทธิผล ซึ่งจะส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับงบการเงิน ทั้งนี้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้าสอบทานความมีประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายในอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงาน และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน  (Compliance Control) การจัดการความเสี่ยงและการให้ความสำคัญต่อรายการผิดปกติทั้งหลาย

 

(7) รายงานของคณะกรรมการ

              คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี (56-2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) โดยงบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนดตาม พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ โดยได้มีการเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังรวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

              (8) ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

              คณะกรรมการบริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลทั้งทางด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ดังนั้น บริษัทจึงมีนโยบายที่จะเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้องครบถ้วน ทันเวลาและโปร่งใส ตามมาตรฐานและเกณฑ์ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเสนอให้กับผู้ถือหุ้นทุกท่านตลอดจนผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับทราบอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างแผนกบัญชีกับฝ่ายบริหาร เพื่อทำให้นักลงทุนและผู้ที่ได้รับข่าวสารมีความเข้าใจในบริษัทได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้บริษัทได้รับการยอมรับและสนใจที่จะเข้ามาลงทุน อีกทั้งยังทำให้บริษัทได้รับมุมมองจากสาธารณชนที่ดีต่อบริษัท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัท

 

  (9) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใสและทั่วถึง ทั้งในรูปของรายงานข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทั่วไป ตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท โดยได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 รายงานประจำปีของบริษัท เป็นต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง

     จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

                บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามหลักบรรษัทภิบาล โดยยึดถือหลักความรับผิดชอบ ความโปร่งใส ความเสมอภาค การสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว และการส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่บริษัทฯ ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ 

    • มุ่งมั่นให้ลูกค้ามีความพึงพอใจโดยการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
    • มีความรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจและการกระทำของตน
    • มีความโปร่งใสและเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา
    • ปฏิบัติต่อทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
    • มุ่งสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
    • ส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
    • พนักงานของบริษัทถือเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง บริษัทพยายามคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงานให้การฝึกฝนพัฒนา และดูแลอย่างดีด้วยสวัสดิการและผลตอบแทนที่เป็นธรรม
    • ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างแน่วแน่ และปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

     

        นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น

     

    บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี  โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสเป็นธรรม  รับผิดชอบและระมัดระวังภายใต้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องบริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ

                เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน

                ทั้งนี้ในรายงานฉบับนี้ จะกล่าวถึง “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รับชั่น” ในบางส่วน และได้เปิดเผย “นโยบายต่อต้านคอรัปชั่น” ฉบับเต็ม ไว้บน website ของบริษัท  www.krungthai.co.th

     

    จรรยาบรรณและจริยธรรมของคณะกรรมการบริษัท

     

                การบริหารงานของคณะกรรมการ ย่อมมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) หลายกลุ่มด้วยกัน เพื่อให้การบริหารงานของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม ซึ่งจะประสบผลสำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ผู้บริหารพึงประสานผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อให้เกิดดุลยภาพที่เหมาะสมโดยจะปฏิบัติตามแนวทางใน 6 หมวด ดังต่อไปนี้

     

    หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท / ผู้ถือหุ้น

     

    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ อย่างมีเหตุผลเป็นธรรมต่อบริษัท/ผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อประโยชน์สูงสุดอันพึงได้ของบริษัท/ผู้ถือหุ้น
    • ประสานสัมพันธ์อย่างดีกับผู้ถือหุ้น เพื่อให้บริษัทมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
    • บริหารจัดการสินทรัพย์ของบริษัทให้เกิดคุณค่าต่อผู้ถือหุ้น อีกทั้งดูแลมิให้สินทรัพย์เสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ
    • รายงานสถานภาพของบริษัทอย่างครบถ้วนตามตามเป็นจริง อีกทั้งดูแลมิให้สินทรัพย์เสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ
    • ไม่เปิดเผยข้อมูลลับของบริษัทต่อบุคคลภายนอก และไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลใดๆ ของบริษัทซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ
    • ในระหว่างที่มีตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบริษัท ไม่ประกอบธุรกิจส่วนตัวใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดผลประโยชน์ต่อบริษัท (Conflict of Interest)

     

    หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อพนักงาน

     

    • ประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบของจรรยาบรรณและจริยธรรม โดยเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน
    • กำหนดโครงสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อการทำงานแก่พนักงาน และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงาน
    • ดูแลการแต่งตั้ง โยกย้าย การให้รางวัลและการลงโทษพนักงาน ให้เป็นไปด้วยความสุจริต และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมของพนักงานนั้นๆ
    • ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานโดยให้โอกาสพนักงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
    • ส่งเสริม สนับสนุนให้พนักงานมีความเข้าใจ และประพฤติตนตามกรอบของจรรยาบรรณ และจริยธรรม อย่างทั่วถึงทั้งบริษัท
    • ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพและให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

     

    หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า

    • ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้า กรณีที่จะไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบเจรจากับลูกค้าเป็นการล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
    • มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้าให้ได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพที่ดีเลิศ ภายใต้ความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
    • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง รวมทั้งรักษาสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืน
    • จัดระบบการบริการลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนความไม่พอใจและดำเนินการตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างรวดเร็ว
    • ดำเนินการโดยให้มีต้นทุนที่เหมาะสมเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยยังรักษาคุณภาพของการบริการที่ได้มาตรฐาน
    • ให้ความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้าอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ และไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
    • ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า

    หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้

     

    • ดูแลมิให้มีการเรียก หรือรับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้
    • ให้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขและบังคับใช้เงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้อย่างเคร่งครัด
    • รายงานข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และตรงเวลาให้แก่เจ้าหนี้ทราบอย่างสม่ำเสมอ

     

    หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

     

    • กำกับดูแลให้บริษัทดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
    • ไม่อนุญาตให้ดำเนินการใดๆ ซึ่งเป็นการเอาเปรียบคู่แข่งขันทางการค้าโดยวิธีการที่ไม่สุจริต

     

    หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวม

    • ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างสรรค์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์
    • ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในบริษัทฯ และพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
    • ให้ความร่วมมือ และควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง
    • ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อันเนื่องมาจากการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
    • ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมให้พนักงานใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ

    จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท

     

                จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท  กำหนดเป็น 6 หมวด ดังนี้

     

    หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท

    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ด้วยความรับผิดชอบรอบคอบ ทุ่มเทกำลังกายและกำลังความคิดในการทำงาน โดยถือประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
    • เป็นผู้มีวินัย และประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทฯ ค่านิยมองค์การ และประเพณีอันดีงาม ไม่ว่าจะระบุเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม
    • พึงรักษาเกียรติของตนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม รวมทั้งไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทฯ
    • ใช้และรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัด และดูแลมิให้สูญหาย อีกทั้งไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
    • ห้ามเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำหรือปกปิดการกระทำใดๆ ที่อาจขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ หรืออาจทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความยุติธรรม หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกปิดการกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหมาย
    • ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องทางการเงินหรือก่อภาระผูกพันทางการเงินใดๆ กับบุคคลอื่นที่มีหน้าที่หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานของบริษัทฯ
    • ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยอมให้ผู้อื่นใช้อำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
    • มีความมุ่งมั่น มีจิตสำนึกที่ดี และมีความรับผิดชอบร่วมกันต่อบริษัทฯ ที่จะดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายใต้นโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทฯ โดยต้องยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องดังกล่าว

    หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน

                การประพฤติปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ถูกต้องและเป็นธรรม รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติของพนักงานที่มีต่อกันและกันอย่างเหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ และการประสานงานที่ดี ส่งเสริมความสามัคคีและพลังร่วมในการปฏิบัติงานของบริษัทดังนั้น เพื่อเสริมสร้างและรักษาคุณลักษณะที่ดีดังกล่าว พนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

    • ผู้บังคับบัญชาพึงใช้หลักคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล เช่น การรับบุคคลเข้าทำงาน การประเมินผลงานและศักยภาพการให้รางวัลกรณีต่างๆ การลงโทษ
    • ผู้บังคับบัญชาพึงส่งเสริมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน
    • ผู้บังคับบัญชาพึงฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Participative Management)
    • ผู้บังคับบัญชาพึงส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยแนะนำให้มีการปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลา และย้ำเรื่องการใช้ทรัพยากรของบริษัทที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างคุ้มค่า
    • ผู้บังคับบัญชาพึงสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยในการทำงาน
    • ผู้บังคับบัญชาพึงปกครองบังคับบัญชาด้วยเมตตาธรรมและจริยธรรมพร้อมทั้งสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานให้มีความอบอุ่นเป็นกันเอง
    • ผู้บังคับบัญชาพึงทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการทำงานอย่างทุ่มเทให้แก่บริษัท และการยึดมั่นในจรรยาบรรณและจริยธรรม
    • ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงฟังคำสั่ง คำแนะนำ ของผู้บังคับบัญชา และไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่เป็นเรื่องเร่งด่วน ซึ่งกรณีนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรับรายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนให้ทราบโดยเร็ว
    • ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงมีสัมมาคารวะ และมีความสุภาพต่อพนักงานซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เหนือกว่าตน
    • พนักงานพึงรักษาและเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ระหว่างบุคคลระหว่างหมู่คณะ พึงทำงานเป็นทีม และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    • พนักงานพึงทำงานโดยให้เกียรติซึ่งกันและกันโดยฟังความเห็นของผู้อื่นตามควรแก่กรณี ไม่เอาเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาวิพากษ์วิจารณ์ หรือแอบอ้างเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน พึงเคารพในสิทธิของพนักงานอื่นที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน

     

    หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า

     

                บริษัทมุ่งมั่นให้บริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยให้ยึดถือวิธีการบริหารงานที่ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อผู้รับบริการ ดังนั้นการดำเนินงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง ซึ่งพนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

    • ตั้งเป้าหมายในการทำงานว่าจะให้บริการแก่ลูกค้าในระดับที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุด
    • กำหนดคุณภาพของบริการ (Quality of Services) ให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับแนวหน้าของธุรกิจ
    • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการให้บริการอย่างครบถ้วนและถูกต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงของการให้บริการ
    • ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า หรือค้ากำไรเกิดควรเมื่อเทียบกับคุณภาพและบริการ ร่วมทั้งไม่กำหนดเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรม
    • รักษาความลับของลูกค้า และไม่นำข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้เกี่ยวข้อง
    • ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า และหาทางแก้ไขปัญหาโดยเร็ว
    • รับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการเป็นประจำสม่ำเสมอและนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น

     

    หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้ คู่แข่งทางการค้า

     

                ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์หลายฝ่าย เช่น คู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้/คู่แข่งทางการค้านั้น บริษัทจำเป็นต้องว่างตัวเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย ในการนี้ พนักงานจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ตามแนวทางดังต่อไปนี้

    • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับคู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้/คู่แข่งทางการค้า
    • ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้/คู่แข่งทางการค้าอย่างเคร่งครัด
    • จัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างสม่ำเสมอ
    • ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงกรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี และถือปฏิบัติตามแนวทางของธุรกิจชั้นนำ
    • ดำเนินธุรกิจโดยวิธีการที่สุจริตเสมอไม่แสวงหาข้อมูลความลับของคู่แข่งทางการค้า โดยวิธีการที่ไม่ชอบหรือทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าโดยไม่มีมูลความจริง

     

    หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

     

                ในฐานะที่บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  ดังนั้นพัฒนาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นพนักงานซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นตัวแทนบริษัท พึงปฏิบัติดังนี้

    • ปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบของตน และดำรงชีวิตด้วยจิตสำนึกที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ
    • หาหนทางคืนกำไรแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ ในทางตรง เช่น ให้แก่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในทางอ้อม เช่น ให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม
    • ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการใช้สนับสนุน และเผยแพร่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัด เช่น เชื้อเพลิง ไฟฟ้า และน้ำ เป็นต้น
    • ดำเนินธุรกิจด้วยจิตใจที่คำนึงถึงสาธารณะ (Public spirit) เสมอ

     

    หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง

     

    การประพฤติของพนักงาน  แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตามย่อมจะมีผลกระทบถึงบริษัท และสังคมโดยส่วนรวม ดังนั้น พนักงานพึงประพฤติปฏิบัติและพัฒนาตนเองไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและบริษัทอยู่เสมอ กล่าวคือ

    • พึงศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างตนเองให้เป็นผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับมืออาชีพ โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่เสมอ พร้อมกับดำรงตนให้มีคุณธรรมที่ดีงาม คือ เป็นทั้งคนเก่งและคนดีขององค์กร
    • พึงประพฤติตนเหมาะสมกับการเป็นพนักงานบริษัททั้งทางกริยามารยาทการวางตัวและการแต่งกายเพื่อสร้างความเชื่อถือให้แก่ตนเองและบริษัท
    • พึงยึดมั่นในหลักของความถูกต้องและเป็นธรรม โดยจะต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีความชอบ หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชาหรือจากบุคคลอื่นใด
    • พึงละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของตนเองและบริษัท ตัวอย่างเช่น
      • ไม่กระทำตนเป็นคนมีหนี้สินรุงรัง
      • ไม่หมกมุ่นในการพนันทุกประเภท
      • ไม่กระทำการใดอันจะกระทบกระเทือนเสียหายต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือชื่อเสียงของตนเองและบริษัท
    • ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการงาน

    ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท  ผู้บริหารและพนักงานที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด

    การดูแลให้มีการปฏิบัติตามและการทบทวน

                    บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ ปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ใน คู่มือจรรยาบรรณนี้ อย่างเคร่งครัด มิใช่การปฏิบัติตามสมัครใจ และไม่สามารถอ้างอิงว่าไม่ทราบแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น

    ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตาม คู่มือจรรยาบรรณของบริษัท อย่างจริงจัง

    บริษัทฯ ไม่พึงปรารถนาที่จะให้การกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ขัดกับหลักจรรยาบรรณที่ดี หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และหากมีการกระทำที่เชื่อได้ว่าผิดกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐ บริษัทฯจะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐดำเนินการต่อไป

    ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ  กำหนดให้มีการทบทวนคู่มือ “ จรรยาบรรณ” เป็นประจำทุกปี

    1. วินัย

    คณะกรรมการบริษัทฯ ถือว่าจริยธรรมธุรกิจ เป็นวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทำผิดวินัย ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

    กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน โดยการกระทำต่อไปนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

    1. การไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
    2. แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้อื่นไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
    3. ละเลย เพิกเฉย เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมฯ ในกรณีที่ตนทราบ
    4. ไม่ให้ความร่วมมือ ขัดขวาง การสืบสวน/สอบสวน ข้อเท็จจริง
    5. การกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน จากการรายงานการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมฯ

     

    การลงโทษทางวินัย

    ตามระเบียบของบริษัทคำตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือกรรมการผู้จัดการถือเป็นอันสิ้นสุด

    ในกรณีที่มีการร้องเรียนบุคคลที่กระทำผิดที่มีตำแหน่งในระดับผู้บริหารขึ้นไปคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการรับเรื่องหาข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทให้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้

     

    1. การฝ่าฝืนที่ไม่ร้ายแรง: ผู้บริหารจะได้รับหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะระบุลักษณะของการฝ่าฝืนรวมทั้งข้อมูลเหตุที่อาศัยเป็นหลักของการฝ่าฝืนนั้น โดยให้โอกาสผู้บริหารดังกล่าวโต้แย้งข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชา หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้    ให้นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการวินัยซึ่งแต่งตั้งโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อพิจารณา และให้ถือคำตัดสินของคณะกรรมการวินัยเป็นที่สิ้นสุด หากมีการฝ่าฝืนเป็นครั้งที่สอง หรือผู้บริหารไม่แก้ไขความผิดจากการฝ่าฝืนในครั้งแรกตามที่ได้รับหนังสือเตือนนั้น ผู้บริหารดังกล่าวจะถูกลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งอาจรวมถึงการเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

     

    1. การฝ่าฝืนร้ายแรง ซึ่งรวมถึงการฝ่าฝืนดังต่อไปนี้ เช่น การให้หรือการรับสินบน การฉ้อโกง การเปิดเผยข้อมูลความลับ หรือทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ ต่อบุคคลที่สาม และการกระทำใด ๆ ที่เสื่อมเสียต่อเกียรติคุณของบริษัทฯ หรือปกปิดไม่รายงานข้อมูล การหารือ หรือเอกสารสำคัญใด ๆ ต่อผู้บังคับบัญชา : บริษัทฯ อาจพิจารณาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย และโดยไม่จำเป็นต้องออกหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน

     หากมีข้อสงสัยว่าผู้บริหารและพนักงานท่านใดมีการกระทำผิดจรรยาบรรณ สามารถร้องเรียนกับผู้จัดการหรือตำแหน่งที่สูงกว่า  หรือแผนกบุคคล เป็นลายลักษณ์อักษร

    ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2560  เป็นต้นไป

                                                                           

                                                                                       

                                                                                             (นายพิเทพ  จันทรเสรีกุล)

                                                                                                   ประธานกรรมการ